หน่วยที่ 6  เกจขนาดกระบอกสูบ
1. ส่วนประกอบของเกจขนาดกระบอกสูบ
            เกจขนาดกระบอกสูบ (Cylinder bore gauge) เป็นชื่อตามพจนานุกรมศัพท์ยานยนต์และเครื่องยนต์ฉบับราชบัณฑิต
สถาน ลักษณะเครื่องมือต้องประกอบเป็นชุดพร้อมขาตั้งจึงจะสามารถใช้งานได้  โดยมีส่วนประกอบดังนี้

https://1.bp.blogspot.com/-A2hury0HMrI/Xw1JYJMZnKI/AAAAAAAAJ9Q/-V2w7cfzMvs8muW68N-ls7bUcNHIR-pRgCLcBGAsYHQ/s640/m6.1.png
ภาพ 6.1  ส่วนประกอบของเกจขนาดกระบอกสูบ

1.1  ชุดหัววัด มีหน้าที่ สัมผัสกับผิวชิ้นงานที่ต้องการตรวจวัด
1.2  ก้านเสริม มีหน้าที่ ต่อกับชุดหัววัดเพื่อเพิ่มความยาวให้กับหัววัด มีหลายขนาดตั้งแต่ 50.00 mm ถึงขนาด 105.00 mm
1.3  ตัวล็อกก้านเสริม มีหน้าที่ ล็อกก้านเสริมให้สนิทกับชุดหัววัด
1.4  แหวนเสริม มีหน้าที่ เพิ่มค่าขนาดความยาวให้กับก้านเสริม ส่วนใหญ่มี 4 ขนาดได้แก่ 0.5 mm,1.00 mm, 2.00 mm และ
 3.00 mm
1.5  ด้ามจับ มีหน้าที่ เป็นแกนหลักในการประกอบอุปกรณ์ต่างๆ และใช้เป็นที่จับในขณะตรวจวัด
1.6  เกจหน้าปัด มีหน้าที่ แสดงผลค่าการวัดที่เกจหน้าปัด

2. หน้าที่ของเกจขนาดกระบอกสูบ
          หน้าที่หลักของเกจขนาดกระบอกสูบ (Cylinder bore gauge)  ใช้สำหรับวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกสูบ โดยใช้วัดขนาดความกลมหรือความเรียวของกระบอกสูบหรือปลอกสูบ  และยังสามารถใช้เกจขนาดกระบอกสูบวัดขนาดเส้นผ่าน
ศูนย์กลางด้านใน (Inside diameter) หรือรูในชิ้นส่วนอื่นๆ ได้อีกด้วยเช่นใช้วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาด้านในหรือรูในฝารองลื่นหลัก
ข้อเหวี่ยง  ใช้วัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางด้านในรองลื่นก้านสูบด้านที่ติดกับข้อเหวี่ยงเป็นต้น

3. การใช้เกจขนาดกระบอกสูบ
    3.1 เตรียมเครื่องมือวัสดุและอุปกรณ์  ทำความสะอาดกระบอกสูบ
    3.2 ใช้เวอร์เนียร์คาลิเปอร์ตรวจวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกสูบเพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกก้านเสริม
3.3 เลือกก้านเสริมและแหวนเสริม จากนั้นประกอบเข้ากับชุดเกจขนาดกระบอกสูบให้เรียบร้อยให้มีขนาดยาวกว่าค่าที่วัดได้ใน
เบื้องต้นประมาณ 0.50-1.00 mm

https://1.bp.blogspot.com/-OyJ2fBNqexw/Xw1Jf2sHnbI/AAAAAAAAJ9U/VYqpv44x9t8mWM9hZggjQIr4Erny_1URwCLcBGAsYHQ/s640/m6.2.png
ภาพ 6.2  การวัดขนาดกระบอกสูบและเลือกก้านเสริม

3.4 นำชุดเกจขนาดกระบอกสูบไปปรับตั้งกับไมโครมิเตอร์และปรับ
ตั้งค่าที่หน้าปัดให้ตรงขีด 0 เช่นเลือกขนาด 93 mm ให้นำไปปรับตั้งกับไมโครมิเตอร์ขนาด 93 mm จากนั้นปรับค่าที่หน้าปัดเกจ
ขนาดกระบอกสูบให้ตรงขีด 0
https://1.bp.blogspot.com/-NkL51H8e9zI/Xw1JnJEj_PI/AAAAAAAAJ9Y/P1MDKtfBbMgMryYbt2U1ayMAfMER3QIfgCLcBGAsYHQ/s640/m6.3%2B%25282%2529.png
ภาพ 6.3  การปรับตั้งกับไมโครมิเตอร์

3.5 นำเกจขนาดกระบอกสูบ ด้านที่มีชุดหัววัดใส่ลงไปในกระบอกสูบในลักษณะเอียงเข้า จากนั้นโยกเกจขนาดกระบอกสูบ ขึ้นลงเพื่อหา
ตำแหน่งที่แคบที่สุดและตั้งฉากกับผิวของกระบอกสูบ
โดยตำแหน่งหรือจุดที่วัดตามคู่มือซ่อมจะอยู่ห่างจากขอบบนของกระบอกสูบลง
มาหาจุดที่ 1 ประมาณ 11-15 mm และวัดในตำแหน่ง XX และตำแหน่ง YY  อ่านค่าที่เกจหน้าปัด 

https://1.bp.blogspot.com/-InXRZNoRHGU/Xw1Jsan9CWI/AAAAAAAAJ9g/Vh_yUVY5AhQwAQ4Jg70W2bVm6W-c3DYywCLcBGAsYHQ/s640/m6.4.png

ภาพ 6.4  การวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกสูบ

   3.6 ถอดแยกก้านเสริมและแหวนเสริมออกจากเกจขนาดกระบอกสูบ ทำความสะอาดจัดเก็บให้เรียบร้อย
ข้อควรระวัง: เนื่องจากแหวนเสริมมีขนาดเล็กระวังหล่นหาย

4. การบำรุงรักษาเกจขนาดกระบอกสูบ
          4.1 ระวังอย่าทำเกจขนาดกระบอกสูบหล่นหรือตกจากที่สูงเพราจะทำให้เกจขนาดกระบอกสูบเสียหายหรือสูญเสียความ
เที่ยงตรงและขาดความแม่นยำในการวัดได้
          4.2 ห้ามเก็บรักษาเกจขนาดกระบอกสูบในที่ร้อนจัดหรือเย็นจัดเกินไป
          4.3 ทำความสะอาดก้านเสริมและแหวนเสริม และจัดเรียงตามขนาดให้ถูกต้อง
          4.4 ระวังอย่าให้แหวนเสริมตกหล่นเพราะมีขนาดเล็กถ้าสูญหายจะทำให้เกจขนาดกระบอกสูบไม่สมบูรณ์หรือไม่อาจใช้งาน
ต่อไปได้อีก
          4.5 เช็ดทำความสะอาดทุกครั้งหลังการใช้งานด้วยผ้าสะอาด
          4.6 จัดเก็บรักษาเกจขนาดกระบอกสูบใส่กล่องต่างหาก ห้ามเก็บปะปนกับเครื่องมือชนิดอื่น

5. การอ่านค่าเกจขนาดกระบอกสูบ
ตัวอย่างการอ่านค่าเกจขนาดกระบอกสูบ ถ้าวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกสูบได้ 92.60 mm ให้เลือกก้านเสริมขนาด 93.00 mm 
นำไปปรับตั้งกับไมโครมิเตอร์ที่มีขนาด 93.00 mm ปรับเกจหน้าปัดให้ตรงขีด 0 ซึ่งหมายถึงตั้งค่าเกจขนาดกระบอกสูบที่ 93.00 mm 
จากนั้นนำไปวัดกระบอกสูบตามขั้นตอนการใช้ สังเกตเข็มที่เกจหน้าปัด  ถ้าเข็มยาวที่หน้าปัดเคลื่อนที่ทวนเข็มนาฬิกาให้นำค่าที่อ่านได้
มารวมกับค่าที่ตั้งไว้ ถ้าเข็มยาวที่หน้าปัดเคลื่อนที่ตามเข็มนาฬิกาให้นำค่าที่อ่านได้มาลบกับค่าที่ตั้งไว้ (ภาพ 6.5) เข็มยาวที่หน้าปัดหมุน
ทวนเข็มนาฬิกาตรงกับขีดที่ 17 หมายถึง (17x0.01 mm = 0.17 mm) ให้นำ 0.17 mm ไปรวมกับ 93.00 mm จะได้ 93.00 mm + 0.17 mm
= 93.17 mm

https://1.bp.blogspot.com/-OZtPhye5qV0/Xw1JxnqGJdI/AAAAAAAAJ9o/HXtaGwi3vrwjxJ7gselMh9AOhUFegQGqgCLcBGAsYHQ/s640/m6.5.png
ภาพ 6.5  ตัวอย่างการอ่านค่าเกจขนาดกระบอกสูบ

ตัวอย่างที่ 2 ถ้าวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกสูบได้ 52.30 mm ให้เลือกก้านเสริมขนาด 53.00 mm นำไปปรับตั้งกับไมโครมิเตอร์ขนาด 53.00 mm หมุนกรอบหน้าปัดปรับเข็มเกจหน้าปัดให้ตรงขีด 0 ซึ่งหมายถึงตั้งค่าเกจขนาดกระบอกสูบที่ 53.00 mm จากนั้นนำไปวัดขนาดกระบอกสูบ ปรากฏว่า เข็มยาวที่หน้าปัดหมุนตามเข็มนาฬิกาตรงกับขีดที่ 10 หมายถึง (10x0.01 mm = 0.10 mm) ให้นำค่า 0.10 mm ไปลบกับ 53.00 mm จะได้ 53.00 mm - 0.10 mm = 52.90 mm

hit counter